ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ชนเผ่าลาหู่

ประวัติชนเผ่า ลาหู่
      
       ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ ลาหู่มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง จ.เชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล  ลาหู่บาลา เป็นต้น
  


           ปัจจุบันในประเทศไทยมีชนเผ่าลาหู่อาศัยอยู่ราว 1.5 แสนคน โดยกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ตามแนวชายแดนไทย - พม่ากว่า 800 หมู่บ้าน พื้นที่ที่มีชาวลาหู่อาศัยอยู่มากได้แก่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำปาง โดยเฉพาะตามพื้นที่ติดชายแดน ส่วนใหญ่แล้วชนเผ่าลาหู่ มักจะอาศัยปะปนกับชนเผ่าอื่น ๆ หรือคนไทย มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นหมู่บ้าน เผ่าลาหู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ลาหู่แดง ซึ่งมีการนับถือผี โดยโตโบหรือผู้นำทางศาสนา ส่วนลาหู่ดำหรือลาหู่เหลือง ก็มีการนับถือผีเช่นกัน นอกจากนี้เผ่าลาหู่ก็ยังมีการนับถือศาสนาคริสต์อีกด้วย
ข้อมูลจากหนังสือ
ด้านวิถีชีวิตของชนเผ่าลาหู่นั้น โดยปกติแล้วชนเผ่าลาหู่ชอบอาศัยอยู่บนที่สูง และเป็นชนเผ่าที่ไม่ชอบความ
วุ่นวาย มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย เป็นชนเผ่าที่สามารถปรับตัวเข้ากับผู้คนได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะยังชีพด้วยการเป็นชาวนา ปลูกข้าว และข้าวโพด เพื่อการบริโภคในครัวเรือน ลาหู่ก็ยังภูมิใจกับการเป็นนักล่าสัตว์ นอกจากนี้พวกเขายังเคร่งครัดกับกฎระเบียบของความถูกและผิด ทุกๆ คนจะตอบคำถามในพื้นฐานเดียวกับคนรุ่นเก่า ชาวลาหู่เข้มแข็งต่อการยึดมั่นต่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และทำงานด้วยกันเพื่อยังชีพ ลาหู่อาจเป็นกลุ่มคนที่มีความเท่าเทียมทางด้านเพศมากที่สุดในโลก



       ลาหู่เป็นชนเผ่าที่มีความหลากหลายในประเทศไทย มีไม่น้อยกว่า 6 เผ่า ทางภาษาไม่มีการเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เผ่าลาหู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือลาหู่แดง การนับถือผีโดยโตโบ ผู้นำทางศาสนา และยังมีจำนวนมากในลาหู่ดำ ลาหู่เหลือง และลาหู่เชเละ มีเป็นจำนวนมากที่เป็นคริสเตียน ถึง 100 ปีมาแล้ว ลาหู่มีประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้รับการพิจารณาเป็นภาษาท้องถิ่นที่เป็นมาตรฐาน

ภาษา
ชนเผ่าลาหู่พูดภาษาธิเบต- พม่า ซึ่งคล้ายคลึงกับพวกอาข่าและลีซอ มูเซอส่วนใหญ่พูดภาษาไทใหญ่และลาวได้ บางคนก็พูดภาษาจีนยูนานหรือพม่า ภาษามูเซอแดงและมูเซอดำต่างกันไม่มากนัก จึงฟังกันรู้เรื่อง โดยภาษาพูดเป็นการสืบทอดต่อๆ กันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษมาถึงปัจจุบัน โดยแสดงถึงวัฒนธรรมด้านภาษาของตนเอง ภาษาลาหู่มีแต่ภาษาพูดเท่านั้น การสืบทอด และการสื่อสารต่างๆ นั้นสืบทอด โดยใช้ระบบความจำ พูด ฟัง เท่านั้น จะไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง





   วิถีชีวิต และลักษณะบ้านเรือน

วิถีชีวิตด้านการละเล่น
วิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพ ความอยู่รอดของชาวลาหู่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน ไม่ว่าเป็นดิน ความพอดีของน้ำจากท้องฟ้า วัฒนธรรมของชาวลาหู่ผูกพันอยู่เป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติได้สะท้อนออกมาในรูปแบบวรรณกรรมปากเปล่า ซึ่งผู้นำศาสนามักจะสอนศาสนิกชน ของตน กระดูกของเราเป็นก้อนหิน เนื้อหนังของเราเป็นดิน สายเลือดเป็นสายน้ำ ลมหายใจเป็นอากาศ และความอบอุ่นภายในกายเป็นแสงแดดดินเป็น ตัวแทนธรรมชาติที่มีความผูกพันที่ใกล้ชิดมนุษย์




 วิถีชีวิตด้านการละเล่น
การละเล่นเป็นอีกวัฒนธรรมหนึ่งของชนเผ่าลาหู่ที่นิยมเล่นกันยามที่ว่างจากการทำไร่ ทำสวน และช่วงที่มีพิธีกรรมทางศาสนา หรือประเพณี ซึ่งเด็กหรือผู้ใหญ่จะมารวมตัวกันบริเวณรางที่กว้างๆ พร้อมจัดกลุ่มแล้วก็เล่น เป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และจะเน้นการเล่นเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดความสมัคสามัคคีกันภายในกลุ่ม เป็นการใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้านในการนำสิ่ง ของต่างๆ มาประดิษฐ์เป็นของเล่น โดยการใช้วัสดุธรรมชาติ ที่หาได้ง่ายและไม่ได้ใช้ต้นทุนเยอะของท้องถิ่นมาดัดแปลง และทำเป็นของเล่นในยามที่ไปไร่ไปสวน ระหว่างทางก็จะเด็ดใบไม้แล้วก็มาเป่าให้เกิดเป็นเสียงเพลง ซึ่งจะทำให้เกิดความสุขในการเดินทาง และการเป่าใบไม้หนุ่มๆ ยังใช้เป่าในการจีบสาว ซึ่งจะเป็นการเป่าเพลงที่ข้องข้างเศร้า และมีความหมายอันลึกซึ้ง ถือได้ว่าเป็นวิธีการในการหาคู่ของหนุ่มสาวอีกวิธีหนึ่ง

 ลักษณะบ้านเรือน

   มูเซอจะปลูกบ้านอยู่บนดอยสูงระดับ 4,000 ฟุตขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล เพราะถือว่าผู้ที่อยู่สูงจะเหนือกว่าผู้ที่อยู่ที่ต่ำ บ้านมูเซอจะสร้างด้วยไม้ไผ่ เสาไม้ หลังคาแฝกหรือคา หน้าบ้านมีนอกชาน มีเตาไฟก่อไว้กลางบ้านหรือมุมบ้านสำหรับให้ความอบอุ่นในฤดูหนาว และหุงต้มอาหาร บ้านเรือนของเผ่าลาหู่ส่วนมากปลูกยกพื้นใต้ถุนสูง ซึ่งจะใช้เป็นที่เก็บฟืน เสาบ้านเป็นไม้เนื้อแข็ง พื้นฟาก ฝาฟาก มุงด้วยหญ้าคา หรือใบก้อ วิธีมุงหลังคาด้วยหญ้าคาของชาวลาหู่ค่อนข้างแปลก คือ แทนที่จะมัดคาเป็นต้นๆ เขาใช้มุงฟ่อนทับกันหนาแน่นเช่นเดียวกับวิธีการมุงหลัง คาด้วยหญ้าของชาวยุโรป การมุงแบบนี้ทำให้ใช้ได้ทน และอบอุ่นในฤดูหนาว ตัวบ้านแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเป็นชานนอกชายคา ปูด้วยไม้ฟาก มีบันไดเป็นไม้ท่อนยาวพาดจากพื้นดินขึ้นไปสู่บ้าน ตอนหลังเป็นห้องสี่เหลี่ยมกว้าง 3-4 เมตร มีฝาสานรอบทุกด้าน สูงประมาณ 1 เมตรครึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ล้วนไม่มีเพดาน ตรงกลางห้อง มีเตาไฟ 1 เตา สำหรับทำอาหาร รอบๆ เตาไฟเป็นที่นอน และใช้เป็นที่ต้อนรับแขกด้วย สำหรับบ้านของหัวหน้าหมู่บ้านจะใหญ่โตกว่าบ้านของลูกบ้านราว 2 เท่า มีห้องนอนสำหรับต้อนรับแขก กับห้องนอนของครอบครัว เตาไฟทำไว้ 2 แห่ง เพราะบรรดาแขกผู้ไปเยือนหมู่บ้านจะไปหาหัวหน้าหมู่บ้านก่อน และพักค้างแรมอยู่ภายในบ้านผู้เป็นหัวหน้านั้นเอง